ในตอนแรกเราคุยกันว่าด้วยเรื่องของการพึ่งพิง
เราคุยกันว่าคนเรามี 3 กลุ่ม คือ คนพึ่งคนอื่น, คนพึ่งตัวเอง และคนเป็นที่พึ่งของคนอื่น
จริง ๆ แล้วในแต่ละวัน หรือแต่ละช่วงเวลา บริบทของชีวิต อาจสลับบทบาทไปมา ระหว่าง 3 แบบ ...เช้าพึ่งคนอื่น กลางวันพึ่งตัวเอง เย็นเป็นที่พึ่งให้คนอื่น (อะไรงี้) .....แต่เอาเป็นว่า ใครวางบทบาทให้ตัวเองเน้นหนักไปในทางไหน มันก็คือ จะมีผลกับบั้นปลายของชีวิต
จริง ๆ แล้วในแต่ละวัน หรือแต่ละช่วงเวลา บริบทของชีวิต อาจสลับบทบาทไปมา ระหว่าง 3 แบบ ...เช้าพึ่งคนอื่น กลางวันพึ่งตัวเอง เย็นเป็นที่พึ่งให้คนอื่น (อะไรงี้) .....แต่เอาเป็นว่า ใครวางบทบาทให้ตัวเองเน้นหนักไปในทางไหน มันก็คือ จะมีผลกับบั้นปลายของชีวิต
เพราะในที่สุดแล้ว เมื่อถึงวันหนึ่งของชีวิต เมื่อสมรรถภาพร่างกายเราไม่ยอมให้เราพึ่งตัวเองได้แล้ว เมื่อนั้นจึงเป็นการพิพากษาว่า เราจะจากไปอย่างสงบ เพราะมีคนอาสามาห้อมล้อมดูแลเรา(เพื่อตอบแทน) หรือเราจะตกนรกทั้งเป็นเพราะดิ้นรนทุกข์ทรมานก่อนตายอยู่ลำพัง (เพราะไม่เคยดูแลใคร สุดท้ายก็ไม่มีใครมาดูแล) ตายไปก็ตกนรกอยู่ดีเพราะจิตไม่สงบตอนละสังขาร
เราพิพากษาตัวเองได้ตั้งแต่บัดนี้ว่า เราจะเอายังไงกับบั้นปลายชีวิตตัวเอง
อีกบริบทหนึ่งที่ผมอยากให้เราทำความเข้าใจกับชีวิตคือเรื่องของ “การทำหน้าที่ และการใช้สิทธิ”
การอยู่ร่วมกันในสังคมทุก ๆ ระดับ จะต้องมีสมดุลสองด้านระหว่างหน้าที่ กับสิทธิ
ระหว่างสามีภรรยา ต่างคนมีหน้าที่ของแต่ละคน และแต่ละฝ่ายก็มีสิทธิของแต่ละฝ่าย....สามีมีหน้าที่ของสามี และก็มีสิทธิที่เป็นสามี, ภรรยาก็มีหน้าที่ของภรรยา และก็มีสิทธิของภรรยา
พ่อแม่...มีหน้าที่ของพ่อแม่ และก็มีสิทธิความเป็นพ่อแม่,
พ่อแม่...มีหน้าที่ของพ่อแม่ และก็มีสิทธิความเป็นพ่อแม่,
ลูก...มีสิทธิความเป็นลูก และก็มีหน้าที่ของลูก
นายจ้าง....มีหน้าที่ของนายจ้าง และมีสิทธิในฐานะเป็นนายจ้าง,
พลเมือง.....มีหน้าที่ของพลเมือง และมีสิทธิของพลเมือง,
ทุก ๆ บริบทความสัมพันธ์ ย่อมมีหน้าที่ และสิทธิ เข้ามาเกี่ยวพันธ์ ......คำว่า “หน้าที่” มันเป็นไปตามความรับผิดชอบ ส่วนคำว่า “สิทธิ” มันก็เป็นไปตามสถานะ
จริง ๆ แล้ว ภรรยา มีสิทธิ์ในฐานะภรรยา อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่วันแรกที่เป็นภรรยา แต่สิทธิดังกล่าว จะคงสภาวะอยู่ได้ระยะหนึ่ง ตราบเท่าที่ภรรยาได้ทำหน้าที่ภรรยาได้อย่างสมดุลย์ กับสิทธิที่ตนได้รับ
เรียกว่าเป็นความสมดุลระหว่าง “สิทธิ และหน้าที่”
คนที่เรียกร้องสิทธิ มากกว่าทำหน้าที่ ....หรือเรียกร้องสิทธิ แต่ไม่ทำหน้าที่ ....เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ความชอบธรรมในสิทธิมันจะค่อย ๆ หมดไปเอง และในที่สุด สถานะภรรยามันก็จะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย (สภาวะหย่าร้าง)
พ่อแม่ ไม่ทำหน้าที่พ่อแม่ ในที่สุดก็ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิที่พ่อแม่ควรได้ คือลูกมันจะไม่ค่อยอยากกลับมาดูแลพ่อแม่
ลูกไม่ทำหน้าที่ลูก พ่อแม่มันก็ตัดออกจากกองมรดก เพราะพ่อแม่ก็ต้องเก็บทรัพย์ไว้เลี้ยงตัวเองตอนแก่
ดังนั้น เราจึงควรได้ตระหนักถึง “การทำหน้าที่” ให้มากกว่า “การเรียกร้องสิทธิ”
เมื่อผมแต่งงาน ผมคิดออกในเรื่องแบบนี้ จึงตั้งหน้าตั้งตา “ทำหน้าที่” โดยไม่เคยคิดเรียกร้องสิทธิ....ภรรยาจึงรู้สึกโชคดีที่มีสามีแบบผม เธอจึงซาบซึ้ง รู้สึกเป็นบุญคุณ และตอบแทนผมด้วยการ “ทำหน้าที่” ของเธออย่างเต็มที่ ผลคือตลอดชีวิตครอบครัวของผม ลูกไม่เคยมีประสบการณ์พ่อแม่ทะเลาะกันแม้แต่ครั้งเดียว
สรุป คนที่ทำหน้าที่มากกว่าการใช้สิทธิ คือคนประเภท “รับภาระ” .....คนที่เรียกร้องสิทธิมากกว่าทำหน้าที่ คือคนประเภท “เป็นภาระ”
ในสังคม จะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อ “ร่วมมือ” กันสร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ส่งผลเป็นความเจริญรุ่งเรือง ทั้งของสังคมและส่งผลถึงสมาชิกในกลุ่มด้วย.....คนที่ “รับภาระ” จะเป็นคนที่ได้รับเกียรติจากกลุ่ม ให้เป็นสมาชิกระดับวีไอพีของกลุ่ม.....ส่วนคนที่ “เป็นภาระ” ในที่สุดจะถูกขับออกจากกลุ่ม
ชีวิต จึงออกแบบได้จากการทำความเข้าใจเรื่องนี้..... “สมดุลของสิทธิ และหน้าที่”