วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เกิดมาทำไม? (ตอนที่ 2) สิทธิและหน้าที่


ในตอนแรกเราคุยกันว่าด้วยเรื่องของการพึ่งพิง

เราคุยกันว่าคนเรามี 3 กลุ่ม คือ คนพึ่งคนอื่น, คนพึ่งตัวเอง และคนเป็นที่พึ่งของคนอื่น

จริง แล้วในแต่ละวัน หรือแต่ละช่วงเวลา บริบทของชีวิต อาจสลับบทบาทไปมา ระหว่าง 3 แบบ ...เช้าพึ่งคนอื่น กลางวันพึ่งตัวเอง เย็นเป็นที่พึ่งให้คนอื่น (อะไรงี้) .....แต่เอาเป็นว่า ใครวางบทบาทให้ตัวเองเน้นหนักไปในทางไหน มันก็คือ จะมีผลกับบั้นปลายของชีวิต 

เพราะในที่สุดแล้ว เมื่อถึงวันหนึ่งของชีวิต เมื่อสมรรถภาพร่างกายเราไม่ยอมให้เราพึ่งตัวเองได้แล้ว เมื่อนั้นจึงเป็นการพิพากษาว่า เราจะจากไปอย่างสงบ เพราะมีคนอาสามาห้อมล้อมดูแลเรา(เพื่อตอบแทน) หรือเราจะตกนรกทั้งเป็นเพราะดิ้นรนทุกข์ทรมานก่อนตายอยู่ลำพัง (เพราะไม่เคยดูแลใคร สุดท้ายก็ไม่มีใครมาดูแล) ตายไปก็ตกนรกอยู่ดีเพราะจิตไม่สงบตอนละสังขาร

เราพิพากษาตัวเองได้ตั้งแต่บัดนี้ว่า เราจะเอายังไงกับบั้นปลายชีวิตตัวเอง

อีกบริบทหนึ่งที่ผมอยากให้เราทำความเข้าใจกับชีวิตคือเรื่องของการทำหน้าที่ และการใช้สิทธิ

การอยู่ร่วมกันในสังคมทุก ระดับ จะต้องมีสมดุลสองด้านระหว่างหน้าที่ กับสิทธิ

ระหว่างสามีภรรยา ต่างคนมีหน้าที่ของแต่ละคน และแต่ละฝ่ายก็มีสิทธิของแต่ละฝ่าย....สามีมีหน้าที่ของสามี และก็มีสิทธิที่เป็นสามี, ภรรยาก็มีหน้าที่ของภรรยา และก็มีสิทธิของภรรยา

พ่อแม่...มีหน้าที่ของพ่อแม่ และก็มีสิทธิความเป็นพ่อแม่,

ลูก...มีสิทธิความเป็นลูก และก็มีหน้าที่ของลูก

นายจ้าง....มีหน้าที่ของนายจ้าง และมีสิทธิในฐานะเป็นนายจ้าง,

พลเมือง.....มีหน้าที่ของพลเมือง และมีสิทธิของพลเมือง,

ทุก บริบทความสัมพันธ์ ย่อมมีหน้าที่ และสิทธิ เข้ามาเกี่ยวพันธ์ ......คำว่าหน้าที่มันเป็นไปตามความรับผิดชอบ ส่วนคำว่าสิทธิมันก็เป็นไปตามสถานะ

จริง แล้ว ภรรยา มีสิทธิ์ในฐานะภรรยา อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่วันแรกที่เป็นภรรยา แต่สิทธิดังกล่าว จะคงสภาวะอยู่ได้ระยะหนึ่ง ตราบเท่าที่ภรรยาได้ทำหน้าที่ภรรยาได้อย่างสมดุลย์ กับสิทธิที่ตนได้รับ

เรียกว่าเป็นความสมดุลระหว่างสิทธิ และหน้าที่

คนที่เรียกร้องสิทธิ มากกว่าทำหน้าที่ ....หรือเรียกร้องสิทธิ แต่ไม่ทำหน้าที่ ....เวลาผ่านไปเรื่อย ความชอบธรรมในสิทธิมันจะค่อย หมดไปเอง และในที่สุด สถานะภรรยามันก็จะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย (สภาวะหย่าร้าง)

พ่อแม่ ไม่ทำหน้าที่พ่อแม่ ในที่สุดก็ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิที่พ่อแม่ควรได้ คือลูกมันจะไม่ค่อยอยากกลับมาดูแลพ่อแม่

ลูกไม่ทำหน้าที่ลูก พ่อแม่มันก็ตัดออกจากกองมรดก เพราะพ่อแม่ก็ต้องเก็บทรัพย์ไว้เลี้ยงตัวเองตอนแก่

ดังนั้น เราจึงควรได้ตระหนักถึงการทำหน้าที่ให้มากกว่าการเรียกร้องสิทธิ” 

เมื่อผมแต่งงาน ผมคิดออกในเรื่องแบบนี้ จึงตั้งหน้าตั้งตาทำหน้าที่โดยไม่เคยคิดเรียกร้องสิทธิ....ภรรยาจึงรู้สึกโชคดีที่มีสามีแบบผม เธอจึงซาบซึ้ง รู้สึกเป็นบุญคุณ และตอบแทนผมด้วยการทำหน้าที่ของเธออย่างเต็มที่ ผลคือตลอดชีวิตครอบครัวของผม ลูกไม่เคยมีประสบการณ์พ่อแม่ทะเลาะกันแม้แต่ครั้งเดียว

สรุป คนที่ทำหน้าที่มากกว่าการใช้สิทธิ คือคนประเภทรับภาระ” .....คนที่เรียกร้องสิทธิมากกว่าทำหน้าที่ คือคนประเภทเป็นภาระ” 

ในสังคม จะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ส่งผลเป็นความเจริญรุ่งเรือง ทั้งของสังคมและส่งผลถึงสมาชิกในกลุ่มด้วย.....คนที่รับภาระจะเป็นคนที่ได้รับเกียรติจากกลุ่ม ให้เป็นสมาชิกระดับวีไอพีของกลุ่ม.....ส่วนคนที่เป็นภาระในที่สุดจะถูกขับออกจากกลุ่ม


ชีวิต จึงออกแบบได้จากการทำความเข้าใจเรื่องนี้..... “สมดุลของสิทธิ และหน้าที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น